ไม่พบผลการค้นหา
อียูออกแถลงการณ์ หลังไทยกำหนดวันเลือกตั้ง หวังให้ความเป็นธรรมกับทุกพรรคการเมือง นำไปสู่การแต่งตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน

แถลงการณ์โดยโฆษกของผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปและรองประธานคณะกรรมาธิการยุโรป เกี่ยวกับการประกาศวันเลือกตั้งในประเทศไทย สำหรับการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในประเทศไทย และการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศกำหนดวันเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคมนี้ เป็นก้าวสำคัญในการฟื้นฟูประชาธิปไตยในประเทศไทย

ขณะที่ การยกเลิกข้อจำกัดในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในเดือนที่ผ่านมานับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เราตั้งตารอที่จะได้เห็นการรณรงค์หาเสียงเป็นไปอย่างเปิดกว้างและสงบเรียบร้อย โดยที่เสรีภาพในการแสดงออกอันจำเป็นต่อกระบวนการทางประชาธิปไตยได้รับการรับรอง

"เราคาดหวังว่าจะได้เห็นการเลือกตั้งที่น่าเชื่อถือ มีการแข่งขัน และมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย โดยเป็นธรรมต่อทุกพรรคการเมือง ซึ่งนำไปสู่การแต่งตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน สหภาพยุโรปพร้อมที่จะสนับสนุนประเทศไทยต่อไปในการกลับคืนสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย"

ขณะที่บลูมเบิร์ก สื่อออสเตรเลียวิจารณ์ว่า แม้ว่าไทยจะมีการจัดการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแต่วิธีการดังกล่าวไม่ได้เป็นการฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณืในไทย เนื่องจากทหารจะยังคงมีบทบาทชี้นำการบริหารงานของรัฐบาลใหม่ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาทางการเมืองและความไม่สงบในอนาคต

การเลือกตั้งในครั้งนี้ แม้ว่าพรรคการเมืองอย่างเพื่อไทยจะได้รับเสียงข้างมากในสภา แต่การจัดตั้งรัฐบาลหรือการที่หัวหน้าพรรคที่ได้รับเลือกจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นอาจจะทำได้ยากเนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับปี2560 ที่ร่างโดยทหารให้สิทธิสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งของทหารและเป็นทหารส่วนหนึ่งนั้นสามารถโหวตนายกรัฐมนตรีได้ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้นายกรัฐมนตรีมาจากการโหวตของสมาชิกรัฐสภาจำนวน 3760 เสียง ซึ่งสมาชิกวุฒิสภาที่มีเสียงจำนวน 250 เสียง กับ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 126 เสียงเท่านั้นก็อาจทำให้หัวหน้ารัฐบาลมาจากทหาร หรือ คนนอกได้

บทวิเคราะห์ชิ้นนี้ยังระบุว่า หากผู้นำรัฐบาลทหาร (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งฐานะนายกรัฐมนตรีหลังเลือกตั้งอีกครั้งแต่ก็ไม่อาจสามารถทำงานได้ เนื่องจากไม่มีเสียงสนับสนุนในการผ่านงบประมาณและกฎหมายอื่นๆในสภาฯ

ขณะที่ถ้าหากเพื่อไทยได้จัดตั้งรัฐบาลนั้น สื่อนอกมองว่า พรคคเพื่อไทยก็ไม่อาจสามารถทำงานได้เช่นกันเนื่องจากแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ที่ถูกกำหนดให้รัฐบาลชุดต่อมาต้องปฏิตามกรอบดังกล่าว ซึ่งนักวิเคราะห์หลายรายมองว่า แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ฉบับนี้จะเป็นตัวส่งเสริมให้อำนาจการปกครองของทหารแข็งแกร่งขึ้น อีกทั้งรัฐธรรมนูญฉบับปี 60 ยังเปิดโอกาสให้ข้าราชการ ทหารและผู้พิพากษาไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามคำสั่งของฝ่ายบริหาร หากไม่เห็นชอบกับนโยบายการปฏิบัติจากทางรัฐบาลอีกด้วย