ไม่พบผลการค้นหา
Wake Up News - ไร้ 'หาบเร่' ใครได้-ใครเสีย? - Short Clip
Mar 18, 2018 08:16

การแก้ปัญหาที่ไร้งานวิจัยรองรับ หรือขาดการมีส่วนร่วม ย่อมเกิดแรงต่อต้านจากผู้เสียผลประโยชน์ อย่างกรณี 'จัดระเบียบทางเท้า' ที่นำมาสู่การยกเลิกจุดผ่อนผันหาบเร่แผงลอย นักวิชาการด้านสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มองว่า ภาครัฐควรทบทวนมาตรการนี้อีกครั้ง แล้วเร่งสำรวจพื้นที่ที่อนุญาตให้ขายได้ พร้อมจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมากำกับดูแลหาบเร่แผงลอยโดยเฉพาะ และให้ผู้ค้ามีส่วนร่วมกำหนดนโยบาย 

ผู้ค้าหาบเร่ฯ ทั่วไปเมื่อปลายที่แล้ว (2560) มีงานวิจัยเกี่ยวกับสตรีทฟู้ดชิ้นหนึ่งเผยแพร่ออกมา เพื่อฉายภาพว่า ใครคือผู้ค้า? ใครคือผู้ซื้อ? และภาครัฐควรบริหารจัดการสตรีทฟู้ดอย่างไร? งานวิจัยชิ้นนี้ชื่อว่า "การบริหารจัดการการค้าข้างทาง (Street Vending) ในประเทศไทย : สถานการณ์และทิศทางนโยบายที่ควรจะเป็น (2560) โดย รองศาสตราจารย์ นฤมล นิราทร อาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

จนท.จัดระเบียบทางเท้าคลองถม-ปากคลองตลาดผู้วิจัยศึกษาหาบเร่แผงลอยในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน 4 เขต ได้แก่ เขตบางรัก , ปทุมวัน , พระนคร และสัมพันธวงศ์ เนื่องจากเป็นย่านเศรษฐกิจ และค่าครองชีพสูง แต่มีคนหลากหลายกลุ่มอาชีพ ใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่นั้น โดยพบว่า ตั้งแต่ปี 2557 ที่กรุงเทพมหานคร เข้มข้นเรื่องการจัดระเบียบทางเท้า ภายใต้โครงการ "คืนทางเท้าให้ประชาชน" ตามนโยบายของ คสช. ส่งผลให้จำนวนผู้ค้าหาบเร่ฯ ลดลงอย่างมาก เนื่องจากมีการยกเลิกจุดผ่อนผัน และคุมเข้มพื้นที่ด้วยเจ้าหน้าที่เทศกิจ-ทหาร-ตำรวจ รวมทั้ง การบังคับใช้กฎหมายอย่างที่ไม่เคยเข้มข้นมาก่อน ซึ่งมาตรการเหล่านี้ทำให้ผู้ค้าถูกมองเป็นคนไม่ดี ทำให้บ้านเมืองสกปรก และไม่เป็นระเบียบ ทั้งๆ ที่ผู้ค้าจำนวนไม่น้อย ช่วยให้คนเมืองรายได้ปานกลางไปถึงต่ำ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ด้วยอาหารราคาไม่แพง


ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยคือใคร? จากการตอบแบบสอบถามในพื้นที่ทั้ง 4 เขต ผู้วิจัยพบว่า 

- ในภาพรวมผู้ค้าส่วนใหญ่ ร้อยละ 72.75 เป็นผู้หญิง ยกเว้นในเขตปทุมวัน ที่สัดส่วนผู้ค้าหญิงกับชายไม่ต่างกันมาก 

- ส่วนอายุของผู้ค้า จะอยู่ในช่วง 40-49 ปี เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นเขตปทุมวัน มีสัดส่วนของผู้ค้าที่มีอายุต่ำกว่า 40ปี สูงกว่าทุกเขต 

- ด้านการศึกษา ผู้ค้าส่วนใหญ่ ร้อยละ 43.25 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา รองลงมาคือ ระดับมัธยม (ร้อยละ 32.50) 

- ส่วนใหญ่ ร้อยละ 58 มีภูมิลำเนาในต่างจังหวัด 

- พบว่า ผู้ค้าส่วนใหญ่ ร้อยละ 90.25 เป็นเจ้าของเอง 

ทั้งนี้ ผู้วิจัยยังพบผู้ค้าต่างสัญชาติ มาจากประเทศเพื่อนบ้าน และอินเดีย แต่มีสัดส่วนน้อยมาก เพียงร้อยละ 0.25-0.5 เท่านั้น


ลักษณะการค้าขายของ ผู้ค้าหาบเร่ฯ

- ผู้ค้าหาบเร่ฯ ส่วนใหญ่(ร้อยละ 42.5) ใช้รถเข็น 

- รองลงมาคือ โต๊ะ (ร้อยละ 35.75) ซึ่งจะขายในจุดผ่อนผันที่ กทม. จัดเตรียมไว้ให้โดยเฉพาะ

- บนทางเท้า(ร้อยละ 81) 

- สินค้าที่ขายส่วนใหญ่คือ อาหารปรุงสำเร็จ (ร้อยละ 57.14) 

- รองลงมาคือ ของใช้ส่วนตัว และเสื้อผ้า


ความพึงพอใจผู้ค้าหาบเร่ฯในอาชีพ 

- ผู้ค้าส่วนใหญ่ (ร้อยละ 94.21) บอกว่า พอใจ เนื่องจากเป็นอาชีพอิสระ และรายได้ดี 

- ขณะที่บางส่วนบอกว่า ความรู้น้อย ทางเลือกจึงน้อยตามไปด้วย(ร้อยละ11.96) 

อย่างไรก็ตาม หากมีเงินทุน ผู้ค้ากว่า ร้อยละ 60.98 บอกว่า ไม่คิดจะขยาย หรือตั้งร้านค้า เนื่องจาก ต้นทุนสูง, ไม่มีคนช่วย และอายุมากแล้ว


เงินลงทุนของผู้ค้าหาบเร่ฯ

- รายได้เฉลี่ย และค่าใช้จ่ายหาบเร่ฯสำหรับเงินลงทุนต่อวัน เฉลี่ยอยู่ที่ 2,237.48 บาท และมีรายได้ต่อวัน เ��ลี่ยอยู่ที่ 3,208.40 ดังนั้น จึงได้กำไรขั้นต้น เฉลี่ย 970.92 บาท 

- ขณะที่ค่าใช้จ่ายประกอบการใช้พื้นที่ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 38.61 คือค่าเทศกิจ รองลงมาคือ ค่าธรรมเนียมของ กทม. และค่าเช่าพื้นที่

- ทั้งนี้ ผู้ค้า ร้อยละ 66.25 คิดว่า จะประกอบอาชีพหาบเร่ฯ ตลอดไป เนื่องจากไม่มีทางเลือกอื่น, รายได้ดีเมื่อเทียบกับอาชีพอื่น และมีที่ขายมั่นคง


ทัศนะต่อปัญหาของหาบเร่ฯ และการจัดระเบียบ 

- ผู้ค้าส่วนใหญ่(ร้อยละ 70.79) ยอมรับว่า หาบเร่ฯ ไม่สะอาดและกีดขวางทางจราจร จึงเห็นด้วยกับการจัดระเบียบ, ควบคุมจำนวนผู้ค้า และกำหนดเวลาขาย ทั้งนี้ เสนอให้จัดระเบียบด้วยการจัดที่ขายให้ผู้มีรายได้น้อย, เก็บค่ารักษาความสะอาด และควบคุมจำนวน ซึ่งไม่ใช่การห้ามค้าขายอย่างที่ผ่านมา


ใครคือผู้ซื้อหาบเร่แผงลอย?  

- ผู้ซื้อส่วนใหญ่ (ร้อยละ 50.33) เป็นคนสัญจรไปมา รองลงมาคือ คนในระแวกนั้น

- ทั้งนี้ อาชีพของผู้ซื้อ ส่วนใหญ่ เป็นพนักงานบริษัท รองลงมาคือ นักท่องเที่ยว และแรงงานรายวัน 

- โดยส่วนใหญ่ เป็นผู้มีรายได้ต่ำกว่า 9,000 บาท 

ส่วนเหตุผลที่เลือกซื้อประจำ เพราะราคาไม่แพง รองลงมาคือ สินค้าสะอาดมีคุณภาพ และขายมานายเป็นที่รู้จัก


ความจำเป็นของหาบเร่แผงลอย 

- ผู้ซื้อส่วนใหญ่(ร้อยละ 96.79) บอกว่า 'จำเป็น' เพราะประหยัดเวลาเดินทาง, ช่วยสร้างงานสร้างรายได้ และสินค้าราคาถูก 

- ทั้งนี้ ผู้ซื้อ ส่วนใหญ่(ร้อยละ 30.70) อยากให้กำหนดพื้นที่อนุญาตขายที่ชัดเจน, ให้ความรู้ด้านการรักษาความสะอาดแก่ผู้ขาย และกำกับคุณภาพของสินค้า


ผู้ค้าหาบเร่ฯ ทั่วไปผู้วิจัยเสนอว่า หากภาครัฐต้องการจัดระเบียบทางเท้า โดยไม่ใช้วิธีขับไล่ผู้ค้าหาบเร่ฯ จะต้องมีแนวทางการจัดการอย่างครอบคลุม 2 ระยะ 

ข้อเสนอระยะสั้น คือ

- ทบทวนการยกเลิกการผ่อนผันแบบปูพรม 

- เร่งสำรวจพื้นที่ที่สามารถอนุญาตให้ขายได้ กำหนดหลักเกณฑ์จุดผ่อนผัน และจัดพื้นที่ทดลองขายให้ผู้ค้า จากนั้น ประเมินและขยายผล โดยขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ต้องลงมือทำอย่างมีธรรมาภิบาล

ข้อเสนอระยะยาว 

- ควรกำหนดยุทธศาสตร์การจัดการการค้าข้างทางอย่างชัดเจน 

- จัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยมีหน้าที่มากกว่าการจัดระเบียบ ต้องสามารถขับเคลื่อนนโยบายได้ และแนวนโยบายต่างๆ ของหน่วยงานนั้น ต้องวางอยู่บนฐานคิดที่เน้นความยั่งยืน มากกว่าเพื่อจัดการกับปัญหาเฉพาะหน้า

นอกจากนี้ ยังต้องศึกษาสถานภาพทางเศรษฐกิจของผู้ค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยในการตัดสินใจจัดสรรพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม กำกับดูแลสุขาภิบาลอาหารอย่างจริงจังและทั่วถึง รวมทั้ง สนับสนุนให้ผู้ค้ารวมกลุ่มและมีตัวแทน โดยอาจรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์ หรือในรูปของคณะกรรมการก็ได้ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบต่อชุมชน



Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
181Article
60261Video
0Blog