ไม่พบผลการค้นหา
ผลงานของนายกรัฐมนตรีและทีมเศรษฐกิจ ประเมินได้จาก “รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2563” ปรากฏว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน) ปี 2563 หดตัวรุนแรง 12.2%

กระทรวงการคลังไล่เรียงสาเหตุว่า เป็นผลจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักลงชั่วคราว

ขณะที่เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน) ปี 2563 เศรษฐกิจ “ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป” ภาคเอกชนเริ่มฟื้นตัว แต่รายได้ครัวเรือนลดลง, ความเชื่อมั่นของบริโภคอ่อนแอ, หนี้ครัวเรือนสูงขึ้น, การลงทุนภาคเอกชนหดตัว ในระยะนี้ เศรษฐกิจไทยฝากความหวังทั้งหมดไว้ที่ “การใช้จ่ายของภาครัฐ” 

ไตรมาสที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม) ปรากฏการณ์ “คนละครึ่ง” ได้รับความนิยมติดตลาด เกิดการใช้จ่ายเงินต่อเนื่องเป็นทอด ๆ กระทั่งคนไม่นิยมรัฐบาล ยังนิยมคนละครึ่งกันล้นหลาม ทว่าในความนิยมเช่นนี้ ยังคงทิ้งคำถามใหญ่ไว้ นั่นคือ เมื่อเงินภาษีมาจากประชาชนทุกคน เพราะเหตุใดประชาชนจึงยังคงต้องเข้าคิวแย่งสิทธิ ?

ตลอดปี 2563 นายกรัฐมนตรี ไม่เพียงเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่ยังรุมเร้าด้วยการชุมนุมทางการเมืองตลอดครึ่งปีหลัง รวมทั้งส่งท้ายปีด้วยการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่

การระบาดหนนี้ ยังสะท้อนให้เห็นถึงความหย่อนยานของรัฐราชการเข้าเต็มประตู ปรากฏการณ์ พึ่งพบว่ามีคนต่างด้าว พึ่งเจอว่ามีบ่อน คือตลกร้ายกัดกร่อนประเทศ. 


วิสัยทัศน์ “นายกเงา” 

• “คุญหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์” แห่งสถาบันสร้างไทย เสนอถึงแนวทางในการดูแลช่วยเหลือและเยียวยาผู้ประกอบการรายเล็กรายกลางที่ได้รับผลกระทบจากการที่รัฐบาลการ์ดตก (1) พักชำระหนี้ให้ประชาชน ที่มีหนี้สินครัวเรือนสูงขึ้น โดยเฉพาะเกษตรกร และผู้ประกอบการรายย่อย (2) เงินช่วยเหลือ ชดเชยรายได้ ที่รัฐควรจัดสรรให้ พ่อค้าแม่ค้า ผู้ประกอบการรายย่อย (3) เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจ ประคับประประคองตัวเองได้ 

สุดารัตน์ e8a6adb101886545fd505_38137138_200929_0.jpg

• “กรณ์ จาติกวณิช” แห่งพรรคกล้า เสนอให้รวบรวมเงินกู้ 6 แสนล้าน ที่ยังไม่เบิกจจ่าย ช่วย 4 กลุ่มเดือดร้อนสาหัส (1) พนักงานที่ถูกเลิกจ้าง (2) กลุ่มที่รับเงินเยียวยา 5,000 บาท 3 เดือน จากโครงการเราไม่ทิ้งกัน (3) กลุ่มประชาชนและร้านค้าที่ได้ประโยชน์จากโครงการคนละครึ่ง ซึ่งตอนนี้คนไม่สามารถออกไปจับจ่ายได้อย่างเคย (4) กลุ่มผู้ประกอบการโรงแรม ร้านอาหาร สถานบริการ ร้านสปานวดแผนโบราณ

• “ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” แห่งคณะก้าวหน้า เสนอให้การจัดสรรวัคซีนต้องมีความเป็นธรรม กระจายอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะคนเปราะบางของสังคมที่ไม่สามารถใช้ชีวิตแบบ WFH ได้ รวมทั้งเสนอให้การเยียวยาเป็นไปอย่างถ้วนหน้า นั่นคือ เป็นรายได้พื้นฐานถ้วนหน้าชั่วคราว (Temporary Universal Basic Income) 3,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน คิดเป็นวงเงิน 4 แสนล้านบาท

ธนาธร ak-เสวนา 7 พรรคการเมือง ทางออกประเทศ 21072019-ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ.jpg

• พรรคเพื่อไทย จัดสัมมนา “รับมือโควิดอย่างไร ไม่ให้ประเทศพัง” โดยเสนอทางออก อาทิ (1) “กิตติรัตน์” เสนอให้รัฐตั้งกองทุนสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จำนวน 1 ล้านล้านบาท โดยไม่ผ่านกลไกของสถาบันการเงินพาณิชย์ ซึ่งเป็นการใช้มาตรการทางการเงินในสถานการณ์วิกฤติ (2) “เผ่าภูมิ” เสนอถึงมาตรการคงการจ้างงาน หรือ Job Retention Program โดยภาครัฐต้องสนับสนุนค่าจ้างโดยตรงผ่านผู้ประกอบการ เป็นระบบขั้นบันไดตั้งแต่ 50-60% ในจังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด เป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่อให้ผู้ประกอบการที่ได้รับการสนับสนุนคงการจ้างงาน ไม่น้อยกว่า 90% ของจำนวนแรงงานเดิม ซึ่งจะเป็นการลดผลกระทบและป้องกันการเกิดภาวะล้มละลายของธุรกิจ และลดจำนวนการตกงาน 

ประยุทธ์ ศบค โควิด นายกแถลงโควิด2.jpg

ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี 

นายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการ ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2563 ตั้งแต่กำชับกระทรวงสาธารณสุข เตรียมความพร้อมและแผนการดำเนินงานทั้งในด้านบุคลากร ยา เวชภัณฑ์ และเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ กรณีมีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด - 19 เกินขีดความสามารถในการรองรับของกระทรวงสาธารณสุข (Worst Case) ขนานไปกับให้กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาจัดทำมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ระลอกใหม่

ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2564 ยังมีสองประเด็นที่เกี่ยวข้องกับมาตรการเยียวยาพี่น้องประชาชน (1) มาตรการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนและผู้ประกอบการธุรกิจในระยะเร่งด่วน (มกราคม-มีนาคม 2564) (2) มาตรการด้านการเงินเพื่อดูแลและเยียวยาผลกระทบจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดังปรากฏรายละเอียด ดังนี้  

• บรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน (ไฟฟ้า น้ำประปา และอินเทอร์เน็ต) สำหรับประชาชนทั่วไป

• จัดหาอุปกรณ์ป้องกันโรคโควิด - 19 อาทิ หน้ากากอนามัย หน้ากากผ้า        เจลแอลกอฮอล์ ชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เป็นต้น โดยมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ ประสานกระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งจัดหาอุปกรณ์ป้องกันโรคโควิด - 19 ให้เพียงพอและครอบคลุมทั่วถึงโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อจำนวนมากและในกลุ่มผู้มีกำลังซื้อน้อย

• ปรับปรุงเงื่อนไขของโครงการเราเที่ยวด้วยกัน มอบหมายให้การท่องเที่ยว        แห่งประเทศไทยดำเนินการให้ผู้ใช้สิทธิ์ในโครงการเราเที่ยวด้วยกันที่ได้มีการจองที่พักในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 สามารถเลื่อนการเดินทางออกไปได้จนถึงเดือนเมษายน 2564 โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

• ช่วยเหลือด้านสภาพคล่องและลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์ โดยมอบหมายให้กระทรวงการคลังประสานธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อพิจารณาเตรียมมาตรการช่วยเหลือด้านสภาพคล่องและลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์เพิ่มเติมเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบอย่างเหมาะสม

• ส่งเสริมการจ้างงานและรักษาระดับการจ้างงาน โดยมอบหมายให้กระทรวงแรงงานติดตามและเร่งรัดการดำเนินโครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่สำหรับผู้จบการศึกษาใหม่โดยภาครัฐและเอกชน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพโดยเร็ว 

• มอบหมายให้กระทรวงแรงงานประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณามาตรการดูแลแรงงานที่อยู่นอกระบบประกันสังคม ควบคู่ไปกับมาตรการส่งเสริมให้แรงงานกลุ่มดังกล่าวเข้าเป็นสมาชิกของกองทุนประกันสังคมภาคสมัครใจให้มากขึ้น รวมทั้งพิจารณามาตรการช่วยเหลือผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในกรณีส่งเงินสมทบไม่ครบ 6 ใน 15 เดือน และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดด้วยเช่นกัน

• กระทรวงการคลังร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสถาบันการเงินเฉพาะกิจดำเนินมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำและมาตรการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการและประชาชน

• สถาบันการเงินเฉพาะกิจจะมีการพิจารณามาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้แต่ละรายเพิ่มเติมเป็นการเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นการขยายเวลาการชำระหนี้ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และการให้สินเชื่อเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง

ถึงที่สุด ประชาชนตัดสินได้เอง ใครมีชั้นเชิงอย่างไร ?


วยาส
24Article
0Video
63Blog