ไม่พบผลการค้นหา
เปิดศักราช 2564 มาได้เพียง 1 ไตรมาส รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สามารถอยู่หลังการเลือกตั้งเมื่อ 2562 มาได้ครึ่งเทอมหรือครึ่งทางแล้ว

วิกฤตแรกเริ่มของปี 2564 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง (รมว.) กลาโหม ต้องเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 ระลอกสอง ซึ่งระบาดจาก จ.สมุทรสาคร กระทั่งวิกฤตเริ่มคลี่คลาย

แต่แล้ว พล.อ.ประยุทธ์ ต้องเผชิญโควิด-19 ระลอกที่สาม ที่มาในช่วงเดือน เม.ย. 2564 ซึ่งระบาดจากพื้นที่สถานบริหารย่านทองหล่อ การระบาดระลอกนี้ทำให้ 'ศักดิ์สยาม ชิดชอบ' รมว.คมนาคม ต้องติดเชื้อโควิด-19 เป็นคนแรกในคณะรัฐมนตรี (ครม.)

แม้ผ่านยกแรกของปีจากวิกฤตโควิด-19 ระลอกสองไปได้

แม้จะผ่านเวทีศึกซักฟอกของฝ่ายค้านรุมกระหน่ำโจมตี แต่ 'พล.อ.ประยุทธ์' ก็ยังคงได้รับเสียงไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎรด้วยมติไว้วางใจ 272 ต่อ 206 เสียง และงดออกเสียง 3 เสียง

วิกฤตโควิด-19 ระลอกใหม่นี้ ส่งผลให้เกิดยอดผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ รวมเป็นยอดสะสมแล้ว 61,699 ราย (ยอด ณ 28 เม.ย. 2564) รักษาหายแล้ว 34,402 คน รักษาอยู่ใน รพ. 27,119 ราย เสียชีวิตแล้ว 178 ราย

โดยเฉพาะสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ช่วงต้นเดือน เม.ย. 2564 อยู่ในหลักไม่ถึงร้อยราย แต่เมื่อเกิดคลัสเตอร์จากสถานบันเทิงในกรุงเทพมหานคร

ส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อพุ่งทะยานไปสู่หลักร้อย แตะหลักพันราย และทุบสถิติใหม่นับแต่ประเทศไทยมีวิกฤตโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 โดยยอดผู้ป่วยรายใหม่ประจำวัน มีจำนวน 2,839 ราย (วันที่ 24 เม.ย. 2564)

จากวันที่ 1 เม.ย. 2564 มียอดผู้ป่วยโควิด-19 สะสมภายในประเทศ รวม 28,889ราย จนถึงล่าสุดมียอดผู้ป่วยสะสมแล้ว 61,699 ราย

นั่นเท่ากับในเวลาไม่ถึง 1 เดือน ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่แล้วจำนวน 32,780 ราย

คนใส่หน้ากาก คนรอรถเมล์ โควิด เศรษฐกิจ.jpgโควิด สนามไทยญี่ปุ่น swap

การแก้ปัญหาวิกฤตโควิด-19 ทำให้เกิดกระแสเรียกร้องจากพรรคร่วมฝ่ายค้าน ที่มอกงว่า รัฐบาลล้มเหลวและมีความผิดพลาดในการจัดการการระบาดของโควิด-19 ล้มเหลวในการบริหารจัดการด้านเศรษฐกิจ และล้มเหลวในการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวของคนทั้งประเทศ

"พรรคร่วมฝ่ายค้านหวังว่า พล.อ.ประยุทธ์ จะเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติ เพื่อให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ จึงต้องลาออกจากตำแหน่งสถานเดียว และไม่กระทำการใดๆ ที่จะเป็นการวางกับดัก ต่อท่ออำนาจของตนเองต่อไป” สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร อ่านแถลงการณ์พรรคร่วมฝ่ายค้าน

ขณะที่ 'พิธา ลิ้มเจริญรัตน์' หัวหน้าพรรคก้าวไกล เสนอโรดแมป 3 ขั้นตอน 1.รัฐบาลยุติบทบาทและการบริหารประเทศด้วยการลาออก 2. ตั้งรัฐบาลชั่วคราวเพื่อแก้ปัญหาโควิด-19 และแก้ไขรัฐธรรมนูญ และ 3.ยุบสภาเพื่อให้เกิดการเลือกตั้งทั่วไปโดยเร็ว

ฝ่ายค้าน พิธา สมพงษ์ 1F214B97-0DFB-4698-8493-4384A8078C73.jpegประยุทธ์ กระทรวงสาธารณสุข แพทย์  โควิด 000000.jpg

ไม่ว่าข้อเสนอจากฝ่ายค้านจะออกมาอย่างไร แต่ 'พล.อ.ประยุทธ์' ก็ยังคงอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ยิ่งล่าสุด ครม.ได้มีมติเห็นชอบ ร่างประกาศ เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 3) ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตามกฎหมาย หรือที่เป็นผู้รักษาการตามกฎหมายหรือที่มีอยู่ตามกฎหมายโอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราวเฉพาะ ในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ บังคับบัญชา หรือช่วยในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือฟื้นฟู ช่วยเหลือประชาชน จำนวน 31 ฉบับ เพื่อให้การแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด -19 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

แสดงให้เห็นว่า ครม.ที่มีพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งมีเสียง ส.ส.ในสภาฯ เท่าที่มีอยู่ 272 ยังคงให้การสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์

แม้ว่าจะมีรอยร้าวในหมู่พรรคร่วมรัฐบาลให้เห็น จากการลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือแม้แต่การแสดงความไม่พอใจกับคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 85/2564 เรื่องมอบหมายให้รัฐมนตรี รับผิดชอบแนวคิดการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับพื้นที่จังหวัด

หากดูกลไกตามรัฐธรรมนูญแล้ว ในชั่วโมงนี้จึงเป็นได้ยากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จะงัดอำนาจการยุบสภาฯ เพื่อนำไปสู่การจัดการเลือกตั้งใหม่ในช่วงที่วิกฤตโควิด-19 กำลังระบาดหนัก

เพราะพรรคร่วมรัฐบาลยังไม่มีความพร้อมในการเลือกตั้ง กระแสขาลงของตัว พล.อ.ประยุทธ์ ก็จะมีผลทำให้คะแนนนิยมของ 'พรรคพลังประชารัฐ' อาจตกลง

หากดูข้อเสนอที่ฝ่ายค้านเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ ลาออกจากเก้าอี้นายกรัฐมนตรี ก็เป็นช่องทางที่ทำให้ได้ยากเช่นกัน

เพราะจังหวะและเงื่อนไขขณะนี้ แม้ พล.อ.ประยุทธ์ จะล้มเหลวในการแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 

แต่พรรคร่วมรัฐบาลโดยเฉพาะพรรคตัวแปรอย่าง 'ภูมิใจไทย' ที่มี ส.ส.ในมือ 61 เสียง

และ 'พรรคประชาธิปัตย์' ที่มี ส.ส.เหลือเพียง 48 เสียง (เดิม 51 เสียง ด้วยเหตุที่มี ส.ส. 3 คน ประกอบด้วย ถาวร เสนเนียม ส.ส.ขลา ชุมพล จุลใส ส.ส.ชุมพร และอิสสระ สมชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ ถูกคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ เพราะต้องคำพิพากษาศาลให้จำคุก) ก็ยังต้องอาศัยความอยู่รอดในการประคองรัฐนาวาพรรคร่วมรัฐบาลต่อไป

ถึงแม้ พล.อ.ประยุทธ์จะเลือกใช้วิธีการ 'ลาออก' ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ยังคงให้เป็นการลงมติเห็นชอบนายกรัฐมนตรี ต้องกระทำในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา คือต้องใช้เสียงของ ส.ส.และ ส.ว. เห็นชอบผู้ถูกเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรีตามบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง และผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกฯ จะต้องมี ส.ส.ในพรรคการเมืองที่ตัวเองถูกเสนอไม่น้อยกว่า 24 เสียง หรือร้อยละ 5 ของจำนวน ส.ส.เท่าที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร (รัฐธรรมนูญ มาตรา 159)

สุดารัตน์ ชัชชาติ ชัยเกษม

ตัวเลือกนายกรัฐมนตรีตามบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่มีสิทธิเป็นแคนดิเดตนายกฯ

มีเพียงไม่กี่ตัวเลือกเท่านั้น ประกอบด้วย บัญชีรายชื่อนายกฯ ของพรรคเพื่อไทย มี คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (ลาออกจากพรรคเพื่อไทย ไปสังกัดพรรคไทยสร้างไทย) ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ (ลาออกจากพรรคเพื่อไทย เตรียมลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.) และ ชัยเกษม นิติสิริ ปัจจุบันยังสังกัดพรรคเพื่อไทย โดย 3 รายชื่อของพรรคเพื่อไทยยังคงมีคุณสมบัติเป็นนายกฯได้

พรรคประชาธิปัตย์ มีชื่อเดียวคือ 'อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ' อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (พรรคประชาธิปัตย์ ปัจจุบันมี ส.ส.48 คน)

พรรคภูมิใจไทย (ส.ส.61 คน) มี 'อนุทิน ชาญวีรกูล' รองนายกฯ และ รมว.สาธารณสุข ที่ถูกวางตัวไว้ในบัญชีนายกฯ

ประยุทธ์ ประวิตร คณะรัฐมนตรี ตรีนุช อนุทิน วิษณุ 0_07.jpg

พรรคพลังประชารัฐ มีเพียง 'พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา' เพียงชื่อเดียว และก็มีสิทธิที่จะหวนกลับมานั่งในตำแหน่งนายกฯ ได้อีกครั้ง หากที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาที่ประกอบด้วย ส.ส.และ ส.ว.ให้การสนับสนุน

นาทีนี้หาก 'พล.อ.ประยุทธ์' ลาออก ก็มีสิทธิกลับมาเป็นนายกฯ ได้อีกครั้ง

เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า ส.ว. 250 คน ยังคงให้การสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์

นอกเสียจากว่า ส.ว.ทั้งหมดไม่ต้องการ พล.อ.ประยุุทธ์ ให้กลับมาเป็นนายกฯแล้ว

ตัวเลือกนายกฯ จะเหลือแคนดิเดตตามบัญชีของพรรคการเมืองที่มี ส.ส.ในพรรคการเมืองของตัวเองเกินร้อยละ 5

นิพนธ์ จุรินทร์ ประยุทธ์ สภา อภิปรายไม่ไว้วางใจ ลงมติ -44CF-A02C-CE0C567FE4DE.jpeg

และหากไม่ต้องการใช้ตัวเลือกนายกฯในบัญชีของพรรคการเมือง

รัฐธรรมนูญก็ยังเปิดช่องทางลัดให้นำ 'คนนอก' บัญชีรายชื่อพรรคการเมืองมาเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยขั้นตอน 3 ขั้นตอนสูตรพิเศษ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272

ขั้นตอนแรก ส.ส.-ส.ว. รวมกันไม่น้อยกว่า 367 คน เข้าชื่อไปยังประธานรัฐสภาเพื่อขอเปิดประชุมรัฐสภางดเว้นนายกฯในบัญชีรายชื่อ

ขั้นตอนที่สอง เปิดประตูสู่นายกฯ คนนอก ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ต้องมี ส.ส.-ส.ว. ไม่น้อยกว่า 489 เสียงเห็นชอบ (จากสมาชิกรัฐสภาที่มีอยู่ 733 คน) เพื่อขอให้นำคนนอกมาเป็นนายกรัฐมนตรี

ขั้นตอนที่สาม การลงมติเห็นชอบผู้ถูกเสนอชื่อนอกบัญชีให้มาเป็นนายกฯ ซึ่งต้องอาศัยเสียงสองสภา คือ ส.ส. และส.ว. มากกว่า 369 เสียงในการลงมติเห็นชอบนายกฯ คนนอก

ภายใต้สถานการณ์ที่โควิด-19 ระบาดหนัก ข้อเสนอแนวทางให้ พล.อ.ประยุทธ์ ลาออกจึงไม่ใช่เรื่องง่าย

เพราะด้วยฐานเสียงที่ค้ำยันอำนาจ พล.อ.ประยุทธ์ มีอยู่อย่างแน่นหนาจากพรรคร่วมรัฐบาล และ ส.ว.

พล.อ.ประยุทธ์ จึงคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปและมีสิทธิอยู่ข้ามถึงปี 2565 ซึ่งเข้าสู่ปีที่ 3

ข่าวที่เกี่ยวข้อง