เที่ยวพระราชวังสนามจันทร์ ยลพระตำหนักสวยงาม มีทั้งสร้างแบบไทย แบบตะวันตก และแบบประยุกต์ พร้อมเรือนไม้สไตล์ฝรั่งกลางสวนพฤกษชาติอันรื่นรมย์
พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ขึ้นชื่อลือเลื่องในความงามของพระตำหนักต่างๆ และสวนไม้ใหญ่น้อยอันร่มรื่น
ที่นี่เป็นที่เที่ยวใกล้กรุงของคนเมืองหลวง เป็นที่วิ่งออกกำลังกายของผู้คนในละแวกมหาวิทยาลัยศิลปากร มาช้านาน
พระราชวังสนามจันทร์สร้างขึ้นเมื่อช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ได้เสด็จฯมาประทับแรมที่เมืองนครปฐมหลายครั้งในช่วงที่มีการปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์ ทรงพอพระราชหฤทัยในสถานที่ จึงซื้อที่ดินจากราษฎรเพื่อสร้างพระราชวัง
ในอาณาบริเวณพระราชฐานแห่งนี้มีพระตำหนักต่างๆล้วนน่าชมในความงาม บ้างสร้างแบบไทย บ้างสร้างแบบตะวันตก บ้างผสมผสานประยุกต์ในเชิงช่างศิลป์
พระตำหนักทับขวัญ
พระตำหนักทับขวัญสร้างเมื่อราวพ.ศ.2453-2454 เป็นเรือนไทยหมู่ ประกอบด้วย เรือนใหญ่ 4 หลัง เรือนเล็ก 4 หลัง มีชานแล่นเชื่อมถึงกัน ทุกหลังเป็นเรือนไม้สัก ฝาปะกนกรอบลูกฟัก
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ทรงใช้พระตำหนักนี้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการเสือป่าในระหว่างการซ้อมรบของกองเสือป่า
พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์
เดิมเรียกว่า พระตำหนักเหล เมื่อปีพ.ศ.2458 รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์
พระตำหนักมีรูปทรงคล้ายปราสาทขนาดเล็ก เป็นสถาปัตยกรรมแบบโรแมนติก ผสมผสานระหว่างปราสาทแบบเรอเนซองของฝรั่งเศสยุคต้นกับอาคารแบบฮาล์ฟทิมเบอร์ของอังกฤษ ซึ่งเป็นที่นิยมในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19
รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯให้นำรูปปั้นของย่าเหล สุนัขพันทางที่ทรงโปรด มาตั้งที่หน้าพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์เมื่อราวปีพ.ศ.2457 นับเป็นอนุสาวรีย์สุนัขเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย
พระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์
พระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์สร้างขึ้นราวปีพ.ศ.2459 เป็นเรือนไม้สักสองชั้นแบบตะวันตก ทาสีแดง มุงกระเบื้องว่าว
ภายในอาคารจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ โดยเฉพาะผลงานพระราชนิพนธ์ต่างๆ เช่น บทละคร เรื่อง My Friend Jarlet อันเป็นที่มาของพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ พระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์ และชื่อ “ย่าเหล” ของสุนัขทรงเลี้ยง
จากพระตำหนักนี้ มีฉนวนสะพาน ทำเป็นห้องยาวกรุผนังและกระจก เชื่อมกับพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์
พระที่นั่งพิมานปฐม
พระที่นั่งพิมานปฐมเป็นพระที่นั่งองค์แรกที่รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นราวปีพ.ศ.2450 โดยใช้เป็นที่ประทับก่อนขึ้นเสวยราชย์
พระที่นั่งมีลักษณะเป็นอาคารตึกสองชั้น มีมุขอยู่ตรงกลางเป็นรูปหน้าจั่ว
ชั้นบนของอาคารเป็นมุขโล่ง ออกแบบให้มีลักษณะโปร่งรับลม ทั้งสองชั้นมีช่องระบายลมและระเบียงลูกกรงโดยรอบ ฉลุเป็นลวดลายไทยอย่างประณีต
ด้านทิศเหนือของพระที่นั่ง (ทางขวาในภาพ) มีศาลาแปดเหลี่ยม
ศาลาแปดเหลี่ยมเชื่อมกับพระที่นั่งวัชรีรมยา
พระที่นั่งวัชรีรมยา
พระที่นั่งวัชรีรมยาเป็นสถาปัตยกรรมไทย รูปทรงแบบเดียวกับพระที่นั่งในพระบรมมหาราชวัง
หน้าจั่วตกแต่งด้วยเครื่องลำยองไม้ประดับกระจก หน้าบันด้านตะวันออกของพระที่นั่งเป็นรูปช้างเอราวัณ บนหลังช้างมีสัปคับลายทองตามแบบช้างทรงของกษัตริย์ เหนือที่นั่งบนหลังช้างเป็นเครื่องหมายวชิราวุธ
พระที่นั่งวัชรีรมยาเป็นพระที่นั่งแฝดกับพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ (ทางขวาในภาพ)
พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์
พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ เดิมใช้เป็นโรงละคร ที่ชุมนุมเสือป่า สถานที่ประกอบพิธีกรรมและโอกาสสำคัญอื่นๆ ต่อมาในปีพ.ศ.2455 ปรับปรุงเป็นพระที่นั่งเพื่อใช้เป็นท้องพระโรง
พระตำหนักทับแก้ว
พระตำหนักทับแก้วเป็นพระตำหนักขนาดเล็ก สร้างเป็นบ้านอย่างตะวันตก มีเตาผิงและปล่องไฟ
ภายในบริเวณพระราชวังสนามจันทร์ ยังมีเรือนและที่พัก หลากหลายสไตล์และประโยชน์ใช้สอย หลายหลังด้วย
เรือนพระนนทิเสน
เรือนพระนนทิการ
เรือนสุภรักษ์
เรือนชาวที่
ที่พักพระตำรวจหลวง
เรือนพักต่างๆตั้งอยู่ในสวนอันร่มรื่น มีศาลาแปดเหลี่ยมสำหรับพักผ่อน
ภายในศาลาสามารถมองเห็นแมกไม้และชายน้ำ.
แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ “นายรอบรู้”. (2554). “นายรอบรู้ : ราชบุรี นครปฐม. กรุงเทพฯ : สารคดี.
ติดตาม ไทยทัศนา ย้อนหลัง
ไทยทัศนา : (1) วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ
ไทยทัศนา : (2) วัดสุวรรณาราม ฝั่งธนบุรี
ไทยทัศนา : (3) วัดราชโอรส ฝั่งธนบุรี
ไทยทัศนา : (4) วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ
ไทยทัศนา : (5) วัดสุวรรณดาราราม อยุธยา
ไทยทัศนา : (6) วัดเสนาสนาราม อยุธยา
ไทยทัศนา : (7) วัดจันทบุรี สระบุรี
ไทยทัศนา : (8) วัดสมุหประดิษฐาราม สระบุรี
ไทยทัศนา : (9) วัดกัลยาณมิตร ฝั่งธนบุรี
ไทยทัศนา : (10) วัดบางขุนเทียนใน ฝั่งธนบุรี
ไทยทัศนา : (11) วัดซางตาครู้ส ฝั่งธนบุรี
ไทยทัศนา : (12) วัดบางขุนเทียนนอก ฝั่งธนบุรี
ไทยทัศนา : (13) วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม
ไทยทัศนา : (14) วัดนิเวศธรรมประวัติ อยุธยา
ไทยทัศนา : (15) สัตตมหาสถาน กรุงเทพฯ เพชรบุรี
ไทยทัศนา : (16) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ
ไทยทัศนา : (17) วัดตองปุ ลพบุรี
ไทยทัศนา : (18) มหาธาตุ ลพบุรี
ไทยทัศนา : (19) จิตรกรรม วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา
ไทยทัศนา : (20) พระปรางค์มหาธาตุ ราชบุรี
ไทยทัศนา : (21) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ
ไทยทัศนา : (22) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่หนึ่ง)
ไทยทัศนา : (23) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สอง)
ไทยทัศนา : (24) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สาม)
ไทยทัศนา : (25) วัดพระธาตุลำปางหลวง (ตอนที่สี่-จบ)
ไทยทัศนา : (26) ประตูโขง วัดกากแก้ว นครลำปาง
ไทยทัศนา : (27) วัดไหล่หิน ลำปาง (ตอนที่หนึ่ง)
ไทยทัศนา : (28) วัดไหล่หิน ลำปาง (ตอนที่สอง-จบ)
ไทยทัศนา : (29) วัดปงยางคก ลำปาง
ไทยทัศนา : (30) วิหารโคมคำ วัดพระธาตุเสด็จ ลำปาง
ไทยทัศนา : (31) วิหารโถงทรงจัตุรมุข วัดปงสนุก ลำปาง
ไทยทัศนา : (32) ‘จอง’ แบบพม่า วัดพระแก้วดอนเต้า ลำปาง
ไทยทัศนา : (33) วัดศรีชุม ลำปาง
ไทยทัศนา : (34) วัดศรีรองเมือง ลำปาง
ไทยทัศนา : (35) วัดไชยมงคล (จองคา) ลำปาง
ไทยทัศนา : (36) วัดม่อนปู่ยักษ์ ลำปาง
ไทยทัศนา : (37) วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ (ตอนที่หนึ่ง)
ไทยทัศนา : (38) วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ (ตอนที่สอง)
ไทยทัศนา : (39) วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ (ตอนที่สาม-จบ)