ไม่พบผลการค้นหา
แม้ร่ายกายจะแข็งแรง แต่ก็มีโอกาสเสี่ยงเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้ แพทย์แนะนำให้ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นประจำทุกปี พักผ่อนให้เพียงพอ ลดอาหารมัน และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

แม้ร่ายกายจะแข็งแรง แต่ก็มีโอกาสเสี่ยงเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้ แพทย์แนะนำให้ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นประจำทุกปี พักผ่อนให้เพียงพอ ลดอาหารมัน และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม 

'ไขมันอุดตันในเส้นเลือด' เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบผลัน เพราะเส้นเลือดหัวใจมีการตีบที่รุนแรง หรืออุดตันอย่างเฉียบพลัน นอกจากนี้ยังเกิดจากโรคเบาหวาน ที่ทำให้เลือดข้นและหนืด จึงเกิดการอักเสบของเส้นเลือด ทำให้ลิ้มเลือดจะสะสมเรื่อยๆ ในระยะเวลาตั้งแต่ 6 เดือน - 5 ปี เมื่อเส้นเลือดตีบ ส่งผลให้เลือดไม่ไปเลี้ยงหัวใจในที่สุด

นายแพทย์เกรียงไกร เฮงรัศมี นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด สถาบันโรคทรวงอก กล่าวว่า ผู้ป่วย ร้อยละ 40 ไม่เคยมีอาการมาก่อน เมื่อเกิดขึ้นอาจเสียชีวิตทันที หัวใจหยุดเต้น หรือแน่นหน้าอกแล้วหาย ส่วนอีก ร้อยละ 60 เคยมีอาการมีก่อน ซึ่งส่วนใหญ่ จะมีอาการแน่นหน้าอก เหนื่อยง่ายเวลาออกแรง 

ทางการแพทย์จะแบ่งคนไข้เป็น 2 กลุ่ม คือ หลอดเลือดตีบรุนแรงอุดกั้นทั้งหมด และหลอดเลือดตีบรุนแรงอุดกั้นบางส่วน ไม่ว่าจะเป็นแบบใดควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาโดยด่วน เพราะมีความเสี่ยงเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบผลันได้ทุกเมื่อ

อาการผิดปกติ ที่เสี่ยงเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบผลัน เช่น แน่นหน้าอก ซึ่งมักจะเกิดขึ้นตรงกลางอก และมักเป็นนานเกินนาทีขึ้นไป ร่วมกับมีอาการปวดร้าวขึ้นไปที่กราม หรือไหล่ โดยเฉพาะไหล่ซ้าย  ขณะที่ในผู้ป่วยบางราย อาจไม่มีอาการแน่นหน้าอก แต่จะมีอาการเหนื่อยและมีเหงื่อแตกร่วมด้วย

ส่วนแนวทางป้องกันโรคที่ดีที่สุด คือการรักษาสมดุลชีวิต ไม่ทำงานอย่างหักโหม จนพักผ่อนไม่เพียงพอ เลือกทางอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เพราะเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน  งดสูบบุหรี่ รวมทั้ง ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี ตามโปรแกรมการตรวจสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
    
     

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
181Article
60261Video
0Blog