เครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมจัดงานเสวนาวิชาการเพื่อนำเสนอข้อมูลวิชาการความสมบูรณ์ป่าแม่วงก์ โดยในงานมีการตั้งข้อสังเกตการบิดเบือนตัวเลขทั้งด้านงบประมาณและความจุอ่างเก็บน้ำ
เครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมจัดงานเสวนาวิชาการเพื่อนำเสนอข้อมูลวิชาการความสมบูรณ์ป่าแม่วงก์ โดยในงานมีการตั้งข้อสังเกตการบิดเบือนตัวเลขทั้งด้านงบประมาณและความจุอ่างเก็บน้ำเพื่อผลักดันสร้างเขื่อนแม่วงก์ที่เขาสบกก จังหวัดนครสวรรค์
มูลนิธิสืบนาคะเสถียรจัดเวทีเสวนาวิชาการโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ เพื่อนำเสนอข้อมูลวิชาการรอบด้านของป่าแม่วงก์ โดยมีนักวิชาการหน่วยงานเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างๆเข้าร่วม
ศาสตราจารย์ปริญญา นุตาลัย อดีตคณะกรรมการผู้ชำนาญการแหล่งน้ำ ได้ตั้งข้อสังเกตว่าผลการศึกษาจากรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอของบริษัทพอลคอนซัลแตนท์ จำกัดและบริษัทครีเอทีฟ เทคโนโลยี จำกัด มีการแก้ไขตัวเลขความจุอ่างเก็บน้ำที่เขาชนกันซึ่งเป็นพื้นที่อีกทางเลือกหนึ่งในการสร้างเขื่อน จาก650 ล้านลูกบากศ์เมตร เหลือเพียง 340 ล้านลูกบากศ์เมตร ทั้งที่มีพื้นที่รับน้ำมากถึง 930 ตารางกิโลเมตร โดยสามารถป้องกันน้ำท่วมได้เกือบทั้งหมดของพื้นที่ ซึ่งหากมีการสร้างเขื่อนแม่วงก์ที่เขาสบกก จะทำให้มีการใช้งบประมาณที่มากกว่า
นอกจากนี้ยังให้ความเห็นว่า การสร้างเขื่อนที่เขาสบกก ตามที่บริษัทผู้จัดทำรายงานทางสิ่งแวดล้อมและกรมชลประทานพยายามผลักดัน ไม่สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้จริง เนื่องจากขนาดการสร้างเขื่อนเขาสบกก เก็บน้ำได้เพียง230 ล้าน ลูกบากศ์เมตร แต่ใช้งบประมาณการก่อสร้างสูงถึง1148 ล้านบาท ซึ่งหากสร้างเขื่อนที่เขาชนกันจะใช้งบประมาณเพียง620 ล้านบาทเท่านั้น
นอกจากนี้ศาสตราจารย์ ปริญญา ยังได้เปรียบเทียบงบประมาณการสร้างเขื่อนแม่วงก์กับเขื่อนแม่มอก จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นเขื่อนดินมีขนาดความจุ 138 ล้านลูกบากศ์เมตร ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับเขื่อนแม่วงก์แต่ใช้งบประมาณการสร้างในปี2541เพียง 600 ล้านบาทเท่านั้น น้อยกว่างบประมาณของเขื่อนแม่วงก์ถึงร้อยละ 50
ศาสตราจารย์ปริญญา ยังกล่าวอีกว่า การผลักดันให้มีการสร้างเขื่นแม่วงก์ ท่ามกลางข้อมูลไม่แน่ชัดทั้งทางด้านผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ และงบประมาณ จะเป็นการนำงบประมาณไปละลายน้ำ ทั้งนี้อยากให้มีการจัดทำรายงาน อีไอเอฉบับใหม่ที่มีรายละเอียดที่แน่ชัดก่อนที่จะมีการอนุมัติงบประมาณ จึงอยากให้รัฐบาลทบทวนนโยบายการสร้างเขื่อนแม่วงก์