ไม่พบผลการค้นหา
อาจจะเป็นเรื่องที่ฟังดูเหลือเชื่อ เมื่อมีการกล่าวอ้างว่าเหล้าบุหรี่ มีอันตรายต่อสุขภาพยิงกว่ายาบ้า แต่นี่คือข้อเท็จจริงที่มีงานวิจัยรับรองอย่างเป็นทางการ ว่าเหล้าเป็นสารเสพติดที่อันตรายที่สุดในโลก

อาจจะเป็นเรื่องที่ฟังดูเหลือเชื่อ เมื่อมีการกล่าวอ้างว่าเหล้าบุหรี่ มีอันตรายต่อสุขภาพยิงกว่ายาบ้า แต่นี่คือข้อเท็จจริงที่มีงานวิจัยรับรองอย่างเป็นทางการ ว่าเหล้าเป็นสารเสพติดที่อันตรายที่สุดในโลก

ท่ามกลางกระแสการเรียกร้องการให้กัญชาเป็นสิ่งเสพติดถูกกฎหมาย และการที่รัฐมุ่งเน้นการควบคุมการจำหน่ายและเสพบุหรี่มากขึ้น มีผลวิจัยมากมายยืนยันว่าการเสพกัญชาไม่ได้ส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพเท่าที่สังคมเคยเชื่อ แต่สำหรับยาเสพติดร้ายแรงอย่างยาบ้า มันทำให้เสียสุขภาพน้อยกว่าเหล้าบุหรี่จริงหรือ? 
        
อันที่จริงแล้วมีงานวิจัยที่รองรับคำกล่าวอ้างนี้ได้อย่างสมบูรณ์ นายแพทย์เดวิด นัทท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชวิทยาระบบประสาทจาก Imperial College London มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับโลกในสาขาการแพทย์และวิทยาศาสตร์ ได้จัดทำระบบการให้คะแนนความอันตรายของสารเสพติด 20 ชนิดที่พบบ่อย โดยแบ่งเป็นอันตรายที่เกิดต่อผู้เสพเอง และอันตรายที่ผู้เสพจะก่อต่อสังคม ซึ่งเกณฑ์การให้คะแนนจัดทำโดยคณะกรรมการอิสระด้านยาเสพติด ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขและเภสัชศาสตร์จากทั่วโลก คะแนน 0 หมายถึงไม่เป็นอันตราย และคะแนน 100 หมายถึงอันตรายสูงสุด
        
ผลปรากฏว่าในด้านอันตรายต่อสังคม แอลกอฮอล์เป็นยาเสพติดที่อันตรายที่สุดเป็นอันดับ 1 เหนือกว่าเฮโรอีนหรือโคเคน โดยมีคะแนนสูงถึง 72 ตามด้วยเฮโรอีน โคเคนชนิดอัดแข็ง ยาไอซ์ โคเคนชนิดผง บุหรี่ ส่วนยาบ้าอยู่ในอันดับ 7 มีคะแนนเพียง 23 เท่านั้น ใกล้เคียงกับกัญชา ซึ่งอยู่ในอันดับ 8 มีคะแนนความอันตราย 20 

ส่วนอันตรายที่เกิดกับตัวผู้เสพเอง ยาบ้าก็ไม่ได้อยู่ในลำดับต้นๆ แต่เป็นเฮโรอีน โคเคน และยาไอซ์ ส่วนแอลกอฮอลมาในอันดับ 4 ซึ่งหมายความว่าแอลกอฮอลอันตรายต่อทั้งผู้เสพและสังคมมากกว่ายาบ้า
    
โดยสรุปแล้ว ผลวิจัยชี้ว่าแอลกอฮอล์เป็นโทษต่อร่างกายมากกว่าโคเคน ยาเสพติดร้ายแรงถึง 3 เท่า แต่สาเหตุที่คนไม่ตระหนักถึงภัยร้ายจากแอลกอฮอล์ เป็นเพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวมากกว่าจะเห็นผลทันทีทันใด 

งานวิจัยนี้ยังสะท้อนให้เห็นว่าการป้องกันอันตรายจากสารเสพติด ขึ้นอยู่กับทัศนคติและความรู้ที่ประชาชนมีต่อสารเสพติดชนิดนั้นๆ พอๆกับหรืออาจจะมากกว่าการป้องปรามโดยกฎหมายด้วยซ้ำ การละเลยต่อสารเสพติดใกล้ตัว อันตรายพอๆกับการหวาดระแวงต่อสารเสพติดร้ายแรงจนขาดความรู้ความเข้าใจมันอย่างเพียงพอ

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
181Article
60261Video
0Blog