ไม่พบผลการค้นหา
การรับประทานอาหารในแต่มื้อแต่ละวัน มีส่วนสำคัญโดยเฉพาะในผู้ป่วย การรับประทานอาหารควรเลือกสรรให้เหมาะสม เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน

การรับประทานอาหารในแต่มื้อแต่ละวัน มีส่วนสำคัญโดยเฉพาะในผู้ป่วย การรับประทานอาหารควรเลือกสรรให้เหมาะสม เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน

1. ผักแต่ละสีแต่ละชนิดยังมีประโยชน์ต่อร่างกายและให้คุณค่าที่แตกต่างกัน การรับประทานผักหลากหลายหรือรับประทานให้ครบทั้ง 5 สี จะเกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ
    ผักและสารสีต่าง ๆ ได้แก่
    1.1 สารสีแดง ได้แก่ มะเขือเทศ มีสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า ไลโคปีน  ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งปอด
    1.2. สารสีเหลือง/ส้ม ได้แก่ ฟักทอง แครอท มีสารแคโรทีนอยด์  และอุดมไปด้วยวิตามินเอ
    1.3. สารสีเขียวได้แก่ คะน้า บล็อคโคลี่ อุดมไปด้วยวิตามินซี รวมถึงผักบุ้ง กวางตุ้ง ตำลึง ที่มีวิตามินเอและพิกเมนต์
    1.4. สารสีม่วง ได้แก่ กะหล่ำสีม่วง ชมพู่มะเหมี่ยว มะเขือม่วง สีม่วงในดอกอัญชัน พืชผักเหล่านี้มีสาร Anthocyanin ที่ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง
    1.5. สารสีขาวได้แก่ มะเขือขาวเปราะ ผักกาดขาว ดอกแค โดยเฉพาะยอดแคมีเบตาแคโรทีนสูง 


2.ทานผลไม้เป็นประจำ เพราะผลไม้ประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลากหลายชนิดที่เป็นประโยชน์รวมทั้งยังมีเส้นใยอาหารที่ช่วยให้ระบบย่อยอาหารและระบบการขับถ่ายทำงานได้ปกติ  

3. ทานอาหารธัญพืชและเส้นใยอาหาร เช่น  ข้าวกล้อง ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ลูกเดือย นอกจากนี้ไฟเบอร์หรือใยอาหารในธัญพืช จะช่วยให้สารต่าง ๆ ที่เป็นโทษต่อร่างกายซึ่งเกาะติดบริเวณลำาไส้ให้ขับถ่ายออกไป จึงมีส่วนสำคัญในการลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งในทางเดินอาหารและมะเร็งในลำไส้ใหญ่

4. ใส่เครื่องเทศเสริมรสชาติอาหาร ในเครื่องเทศนอกจากทำให้อาหารมีกลิ่นหอมแล้ว ยังมีสารที่มีสรรพคุณลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง รวมถึงการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้

5. เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ชาเขียว โดยการนำายอดใบชาสดมาผ่านกระบวนการอบเพื่อลดความชื้นโดยไม่ผ่านการหมัก ชาเขียวมีสาร Catechins ที่ชื่อ epigallo-catechin-3-gallate ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งตับ  การดื่มชาเขียวควรดื่มทันทีหลังจากชงชาเสร็จเนื่องจากหากทิ้งไว้ชาเขียวจะท าปฎิกิริยากับออกซิเจนในอากาศทำให้สูญเสียคุณค่าไป

และการดื่มน้ำที่สะอาด ในปริมาณที่เพียงพอในแต่ละวันจะทำให้ร่างกายได้รับการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันทำให้มีสุขภาพแข็งแรง และน้ำเป็นสารตัวกลางที่ร่างกายที่ใช้ในขบวนการต่าง ๆ ของเซลล์ ตลอดจนนำของเสียหรือสารพิษออกจากเซลล์

6. การปรุงอาหารถูกวิธี สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ เช่น ไม่ปิ้งย่างอาหารประเภทเนื้อสัตว์จนไหม้เกรียม  ไม่รับประทานอาหารแบบสุก ๆ ดิบ ๆ โดยเฉพาะปลาน้ำจืดที่มีเกล็ด ไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำหลาย ๆ ครั้ง
 
7. หลีกหนีอาหารไขมัน หากร่างกายมีไขมันเลวปริมาณมากอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้
 
8. ลดบริโภคเนื้อแดง ให้เหลือสัปดาห์ละ 500 กรัม เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ ผู้ที่บริโภคเนื้อแดงมากกว่า 160 กรัมต่อวัน อาจมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเพิ่มขึ้น

9. ลดบริโภคเกลือแกงอาหารหมักดอง  ในแต่ละวันควรบริโภคเกลือ (salt) ไม่เกิน 6กรัม การ
บริโภคเกลือในปริมาณสูงจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร และควรหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปหรืออาหารประเภทหมักดองโดยเฉพาะที่มีการถนอมอาหารหรือปรุง  เนื่องจากอาหารเหล่านี้อาจมีสารก่อมะเร็งไนโตรซามีน และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสีแดงผิดจากธรรมชาติ


ที่มา : สถาบันมะเร็ง

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
181Article
60261Video
0Blog