ไม่พบผลการค้นหา
'ชัชชาติ' ขอบคุณผู้ว่าฯ โคราช ดันประชันวงดุริยางค์กระชับมิตรระหว่าง กรุงเทพฯ-โคราช ที่มาจาก 4 โรงเรียนดังที่มีความสามารถในระดับโลก ขณะที่ผู้ชมสนใจจองบัตรเข้าชมเต็มอินดอร์สเตเดียม หัวหมาก ครั้งต่อไปทีม กทม.จะไปเยือนโคราช

วันที่ 31 ก.ค. 2565 ที่อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังเสร็จสิ้นจัดกิจกรรมกระชับมิตร วงดุริยางค์ กรุงเทพ-โคราช ว่า กทม.ต้องขอขอบคุณ วิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และพี่น้องชาวโคราช ที่มาอย่างอบอุ่นและพร้อมเพรียงมาก เป็นวันที่เชื่อว่าทุกคนมีความสุขที่ได้เห็นน้องๆเด็กนักเรียนได้แสดงความสามารถ มีพื้นที่ให้แสดงออก ทุกคนมาด้วยความสุข มีความสามัคคีกัน โดยมีดนตรีเป็นจุดร่วม น้องๆ ทุกคนเก่งมาก กองเชียร์ก็สุดยอด ถ้ามีโอกาสจะไปเยี่ยมโคราช

AFD36272-D618-405F-8E46-E4475A0C3A94.jpeg0044CE49-6AEA-4B73-963B-74E9F9B20045.jpegC20F5B1F-A9FB-4CF0-9A10-FC297436F920.jpegD6B0C116-22FC-41BF-B52F-0E996169C5DC.jpeg31724D23-E23B-4475-AD58-E53C194C67EE.jpeg

ด้าน วิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ต้องขอขอบคุณท่านผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเช่นกัน ที่ให้โอกาสน้องๆ จากต่างจังหวัด ได้มาแสดงออกถึงความรู้ ความสามารถให้แก่คนกทม. และทั่วประเทศได้ชม คิดว่าผู้ชมคงมีความสุข ความประทับใจจากกิจกรรมในครั้งนี้ และในโอกาสต่อไปจะเชิญ ชัชชาติ และคณะ ไปเยือนโคราช

การประชันวงดุริยางค์กระชับมิตรระหว่าง กรุงเทพฯ - โคราชในครั้งนี้เกิดขึ้นจากการชักชวนของผู้ว่าฯ ทั้งสองเมืองในงานสวนสนามลูกเสือแห่งชาติมาเดือนที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างเมือง กทม. และเมืองโคราช ซึ่งการประชันในครั้งนี้ไม่ได้เน้นการตัดสินที่แพ้ -ชนะ แต่เป็นการแลกเปลี่ยนการแสดงระหว่างเด็กนักเรียนจากกรุงเทพมหานครและนักเรียนตัวแทนจังหวัดนครราชสีมา เป็นการเปิดเวทีสร้างสรรค์ให้นักเรียนได้แสดงความสามารถ อีกทั้งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวของประชาชนทั้งสองเมือง ซึ่งในครั้งแรกกรุงเทพมหานครรับเป็นเจ้าภาพในฐานะทีมเหย้า ครั้งต่อไปจะเป็นการนำทีม กทม.ไปเยือนที่จังหวัดนครราชสีมา

3B81643C-9D21-402D-B98C-071783BD157A.jpegFC1040B8-C7D4-4E0B-8B02-EFD00559BBEF.jpeg99584630-65E6-4B30-A6B3-A67B0DE3317A.jpeg55559522-F12B-459F-A97A-92EDF012889A.jpeg411A050A-6FFA-4F05-831C-418C4091FD63.jpeg71E0CA7A-619F-479D-813F-6464F52139E2.jpeg8D6AD2CF-C9E2-46FA-BC72-A31EE0B431DD.jpeg5ADB091D-6C92-4C8B-9982-36DF13D42AE0.jpegCCEDDCD3-D863-40B9-83A9-E886BA6C89E9.jpegD3C963BA-7442-491B-AE05-34A35718020A.jpeg283DF3F5-84D6-44A4-9193-846CFF161734.jpeg7C7EA5A0-35C4-4E3D-8E3A-52132763DB88.jpegC41D1157-0263-4136-B3F5-C1AE09FB7623.jpeg001BE1CF-DAC1-4D4E-8AD1-1907152D5454.jpeg7C1CE77E-3DC6-4B7B-9B90-2A84B4EF3D1B.jpeg

สำหรับวงดุริยางค์ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนในการประชันความสามารถครั้งนี้ทั้ง 4 วง เป็นวงดุริยางค์ที่มีความสามารถ มีประสบการณ์การแข่งขันทั้งในเวทีระดับประเทศและระดับโลก ประกอบด้วย โรงเรียนวัดสุทธิวราราม และโรงเรียนวชิรธรรมสาธิต จากกรุงเทพมหานคร โรงเรียนสุรนารีวิทยา และโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จากจังหวัดนครราชสีมา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การแสดงการประชันวงดุริยางค์กระชับมิตรในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งทันทีที่กรุงเทพมหานครเปิดให้จองบัตรผ่านออนไลน์ ได้มีผู้เข้ามาจองบัตรเต็ม 1,500 ใบ ภายใน 26 นาที ผู้เข้ามาในสนามทุกคน ให้ความร่วมมือแสดงผลการตรวจ ATK ภายใน 48 ชั่วโมง สำหรับผู้ที่ไม่ได้ตรวจมาล่วงหน้าทางกรุงเทพมหานครได้จัดบริการตรวจให้ฟรีที่หน้างาน 

บรรยากาศในสนามประชันดุริยางค์กระชับมิตรเต็มไปด้วยความตื่นเต้นสนุกสนาน ผู้เข้าชมต่างฮือฮาชื่นชมการแสดงของแต่ละวงที่แสดงฝีมือกันอย่างเต็มที่ โดยประชาชนสามารถรับชม live ย้อนหลังได้ทางเพจ “กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์” 

สำหรับการประชันวงดุริยางค์การแสดงทั้งหมด 4 โรงเรียนนั้น ในระหว่างการแสดง กรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าภาพจัดงาน ยังนักวิชาการ  คือ ดร.นิพัทธ์ กาญจนะหุต คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ผศ.เผ่าพันธ์ อำนาจธรรม คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งทั้ง 2 ท่าน เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวงดุริยางค์มาร่วมเป็นคอมเมนเตเตอร์ แสดงความเห็น แนะนำการแสดงของนักดนตรีทั้ง 4 โรงเรียนด้วย

สำหรับการแสดงเริ่มต้นในเวลา 14.30 น. วงดุริยางค์วงแรกที่ทำการแสดง คือโรงเรียนวัดสุทธิวราราม หนึ่งในบทเพลงที่โรงเรียนวัดสุทธิวรารามนำมาบรรเลง คือบทเพลง "กรุงเทพมหานคร" ของศิลปิน อัสนี-วสันต์ โชติกุล ทำให้ได้รับเสียงปรบมือจากผู้ชมในงานเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นวงโรงเรียนวัดสุทธิวรารามยได้บรรเลงเพลงมหาชัยและเพลงมาร์ชสุทธิวราราม โดยมีการอัญเชิญคฑาครุฑพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เมื่อปี 2511 ซึ่งโรงเรียนวัดสุทธิเป็นโรงเรียนแรกและโรงเรียนเดียวที่ได้รับ

ส่วนวงที่ 2 โรงเรียนสุรนารีวิทยา (โคราช) เป็นโรงเรียนหญิงล้วน บรรเลงเพลงได้อย่างไพเราะ ท่ามกลางเสียงปรบมือที่ดังกึกก้อง และพลาดไม่ได้กับการนำบทเพลง "กราบเท้าย่าโม" ของศิลปิน สุนารี ราชสีมา มาร่วมทำการแสดงเพื่อแสดงเอกลักษณ์ของความเป็นจังหวัดนครราชสีมา

วงที่ 3 เป็นการแสดงจากวงดุริยางค์โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต ร่วมกับวงดุริยางค์เครื่องลมเยาวชนไทย เน้นการบรรเลงโหมโรงทั้งหมด บทเพลงที่ใช้จะมีความคึกคักและอ่อนหวานในตัว แต่จะไม่เน้นความยาวมากเกินไป เพื่อไม่ให้ผู้ชมรู้สึกเสียอรรถรส และสุดท้ายจบด้วยเพลงจังหวะชีวิตลิขิตฝัน

ส่วนวงสุดท้ายวงที่ 4 เป็นวงดุริยางค์จากโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย (โคราช) วงนี้จะเป็นการบรรเลงลักษณะวงมาร์ชชิงแบนด์ หรือวงดุริยางค์เครื่องเป่าประเภทเดินบรรเลง ที่สร้างสีสันและความสนุกสนานได้เป็นอย่างดี ระหว่างการแสดงก็ได้รับเสียงปรบมือจากผู้ชมได้เป็นอย่างดี และหนึ่งบทเพลงที่วงดุริยางค์จากโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย นำมาบรรเลงเพื่อให้ผู้ชมได้มีส่วนร่วมร้องไปด้วยกันคือบทเพลง "ศรัทธา" ของศิลปิน หิน เหล็ก ไฟ 

และจบท้ายด้วยเพลงลูกทุ่งในจังหวะสามช่า ที่เชิญชวนผู้ว่าฯ กทม.และผู้ว่าฯนครราชสีมา รวมทั้งผู้ชมในสเตเดียม ลงไปร่วมเต้นรำในสเตเดียมกันอย่างสนุกสนาน เรียกสีสันภายในงานได้เป็นอย่างดี