ไม่พบผลการค้นหา
ผลการวิจัยระบุว่าร้อยละ 80 ของมือปืนกราดยิงไม่ได้เล่นเกม และการเล่นเกมก็ไม่ได้สัมพันธ์กับการใช้ความรุนแรงในชีวิตจริงโดยตรง

นายแพทริก มาร์คีย์ นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงด้านศึกษาผลกระทบของวิดีโอเกมเปิดเผยกับสำนักข่าวซีบีเอสนิวส์ว่า ผลการวิจัยของเขาพบว่าร้อยละ 80 ของมือปืนกราดยิงในสหรัฐฯ ไม่สนใจเล่นวิดีโอเกมที่มีความรุนแรง และเมื่อเกมที่มีความรุนแรงออกวางขาย อัตราการเกิดอาชญากรรมก็ลดลงด้วย

ท่าทีดังกล่าวมีขึ้นหลังจากนิโคลัส ครูซ วัยรุ่นวัย 19 ปีก่อเหตุกราดยิงในโรงเรียนที่มลรัฐฟลอริดา ซึ่งนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ แสดงความเห็นว่าเกมวิดีโอที่มีความรุนแรงอาจมีส่วนส่งเสริมให้เด็กก่อเหตุ กราดยิงกันมากขึ้น เนื่องจากมีประวัติว่านายครูซชอบเล่นวิดีโอเกมและมักแสดงความเกลียดชังคนกลุ่มน้อยบนโซเชียลมีเดีย

ด้านนายสินด์เซย์ เกรซ รองศาสตราจารย์และผู้ก่อตั้งเกมแล็บของมหาวิทยาลัยอเมริกันได้เขียนบทความลง ในเว็บไซต์ของสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นว่าการเล่นเกมยิงปืนเป็นพันชั่วโมงไม่ได้ สอนให้คนยิงปืนจริงได้ เพราะคนที่เล่นเกมไม่ได้เรียนรู้สิ่งที่จำเป็นสำหรับการยิงปืนจริง เช่น กลไกระบบความปลอดภัย น้ำหนักปืน รวมถึงวิธีการโหลดกระสุน ดังนั้น สิ่งเดียวที่จะได้จากการเล่นเกมคือความมั่นใจในตัวเองว่าสามารถยิงได้แม่นยำ แต่ในความเป็นจริงอาจไม่มีทักษะในการยิงเลย

นอกจากนี้ ผลการวิจัยจำนวนมากยังระบุว่าการห้ามไม่ให้เด็กเล่นเกมอาจไม่ช่วยป้องกัน เหตุกราดยิง แต่อาจทำให้คนมีความเครียดจนไปกราดยิงคนอื่นเสียมากกว่า เพราะเกมช่วยลดความเครียดและส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมของเด็ก ขณะที่ผลการสำรวจเกมยอดนิยมบนพบว่า เกมที่มีความรุนแรงมีน้อยกว่าร้อยละ 20 และคำว่า "ยิง" หรือ "ฆ่า" ปรากฏอยู่ในคำโปรยของหนังสือยอดขายติดอันดับมากกว่าอยู่ในเกมที่มียอดขายติด อันดับเสียอีก

ขณะที่บริษัทเกมของสหรัฐฯ ผลิตเกมไปขายทั่วโลก แต่ประเทศที่เล่นเกมมากแพ้กันอย่างอังกฤษและญี่ปุ่นกลับไม่มีความรุนแรงจากอาวุธมากเท่าในสหรัฐฯ และก่อนยุคที่วิดีโอเกมจะแพร่หลายในสังคมอเมริกัน ก็มีเหตุการณ์กราดยิงในโรงเรียนครั้งรุนแรงเกิดขึ้นถึง 7 ครั้ง จึงไม่สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเกมที่มีความรุนแรงกับการใช้ความ รุนแรงในชีวิตจริงได้

ที่มา: CBS News, CNN, Polygon